|
พระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยมพระญาติและพระนางพิมพา |
ธรรมะบน facebook วันนี้
|
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี |
"กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
มีทุกข์มาก มีพิษมาก
ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด
เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล"
อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา.
[( สุเมธาเถรี ) ขุ. เถรี. ๒๖/๕๐๓.
"พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม,
คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดี ที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป"สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ. [( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/๒๐
"ผู้สำรอก(ละทิ้ง)ราคะโทสะและอวิชชาได้แล้ว
ชื่อว่าได้ข้ามทะเลที่มีสัตว์ร้าย มีผู้ร้าย มีภัยจากคลื่น
อันข้ามไปได้ยากนักนี้"
ยสฺส ราโค จ โสโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา โส อิมํ สมุทฺทํ สคาหํ สรกฺขสํ สอุมฺมิภยํ สุทิตฺตรํ อจฺจตริ. [( พุทฺธ ) สํ. สฬ. ๑๘/๑๙๗
"คนทำกรรม(ดี)ใดด้วยทาน
ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ
ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน
ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้น
ย่อมไม่ตามเผาผลาญ(ให้เดือดร้อน)ในภายหลัง"
ทาเนน สมจริยาย สํยเมน ทเมน จ ยํ กตฺวา สุขิโต โหติ น จ ปจฺฉานุตปฺปติ [( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๙๘
"ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
แล้วย่อมสำนึก(คุณของเขา)ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนา ย่อมเจริญ"
โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.
[(ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘
"กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ
เป็นที่คนโง่หมกมุ่น
เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน"
กามา กฏุกา อาสีวิสูปมา เยสุ มุจฺฉิตา พาลา เต ทีฆรตฺตํ นิรเย สมปฺปิตา หญฺญนฺเต ทุกฺขิตา. [(สุเมธาเถรี) ขุ. เถรี. ๒๖/๔๙๙
"พราหมณ์ !
พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน,
เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก"
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ [(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๒๓๖
"สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว"
อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ. [(สารีปุตฺต) ขุ. ปฏฺ. ๓๑/๒๕๐
"ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ
มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล
ย่อมงดงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว"
นิกฺกุหา นิลฺลปา ธีรา อถทฺธา สุสมาหิตา เต เว ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
[(พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๔. ขุ. มหา. ๒๙/๑๕๑
"คนห่อกฤษณา(ไม้หอมชนิดหนึ่ง)ด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด,
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น"
ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา [(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๗
"ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว
ย่อมแตกจากมิตร"
สีลวา หิ พหู มิตฺเต สญฺญเมนาธิคจฺฉติ ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ ธํสเต ปาปมาจรํ
[(สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๗.
"ความโกรธน้อยแล้วเพิ่มมากขึ้น
มันเกิดจากความไม่อดทน
จึงทวีขึ้น."
อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช. [ขุ. ชา. ทสก. 27/273.
"ตราบใดบุรุษยังตัดความกำหนัด
ต่ออิสตรีแม้นิดหน่อยยังไม่ขาด
ตราบนั้น เขาก็ยังคงมีจิตผูกพันอยู่ในภพ
เหมือนลุกโคยังไม่หย่านมติดแม่โคแจฉะนั้น"
ยาวญฺหิ วนโถ น ฉิชฺชติ อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ ปฏิพทฺธมโนว ตาว โส วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ [๒๕/๒๘๔
ธรรมะแบ่งปัน : E-Book คำแปล ๑๔๕ ความหมายจากพระคาถาชินบัญชร
"เหล่าสัตว์ ติดกับตัณหา
การเสือกกระสน ดุจกระต่ายติดบ่วง
สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในกิเลสเครื่องผูกมัด
ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ ตลอดกาลนาน"
ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต สํโยชนสงฺคสตฺตา ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย [๒๕/๓๔๒
จงเตือนตนด้วยตนเอง
จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
ภิกษุเอย ถ้าเธอคุ้มครองตนได้
มีสติรอบคอบ เธอจักอยู่เป็นสุข
อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมตฺตนา โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ [๒๕/๓๗๙
จงรู้เถิด บุรุษผู้เจริญเอ๋ย ความชั่วร้าย
มิใช่สิ่งที่จะพึงควบคุมได้ง่ายๆ
ขอความโลภและความชั่วช้า
อย่าได้ฉุดกระชากเธอ
ไปหาความทุกข์ตลอดกาลนานเลย
เอวํ โภ ปุริส ชานิหิ ปาปธมฺมา อสญฺญตา มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุ [๒๕/๒๔๘
"ถ้าหากจะทำความดี
ก็ควรทำดีบ่อยๆ
ควรพอใจในการทำความดีนั้น
เพราะการสะสมความดีนำสุขมาให้ "
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย [๒๕/๑๑๘
ผู้เป็นทาสวิตกจริต มีจิตกำหนัดยินดี
ติดอยู่ในสิ่งที่สวยงาม
มีแต่จะพอกความอยากให้หนา
กระชับเครื่องพันธนาการให้แน่นเข้า
วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ เอส โข ทฬฺหํ กโรติ พนฺธนํ [๒๕/๓๔๙
ควรละความโกรธ และมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว
ย่อมคลาดแคล้วจากความทุกข์
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย ตํ นามรูปสฺมิมสชฺฒมานํ อกิญฺจนธํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ [๒๕/๒๒๑
"กระแสน้ำคือตัณหา ไหลไปทุกหนทุกแห่ง
เถาวัลย์คือกิเลส ก็ขึ้นรกไปทั่ว
เมื่อเห็น เถาวัลย์นั้นงอกงามแล้ว
พวกเธอจงตัดรากมันด้วยมีดคือปัญญา"
สวนฺติ สพฺพธี โสตา ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ ตญฺจ ทิสฺวา ลตํ ชาตํ มูลํ ปญฺญาย ฉินฺทถ [๒๕/๓๔๐
สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่อย่างประมาท
ตัณหามีแต่จะเจริญเหมือนเถาวัลย์
เขาย่อมกระโดดจากภพนี้ไปสู่ภพอื่น
เหมือนวานรโลภผลไม้ โลดแล่นอยู่ในป่า
มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย โส ปริปฺลวติ หุราหุรํ ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโร [๒๕/๓๓๔
"ศีลให้เกิดสุข ตราบเท่าชรา
ศรัทธา ที่ตั้งมั่นแล้ว ให้เกิดสุข
ปัญญา ได้มาแล้ว ให้เกิดสุข
การไม่ทำบาปทั้งหลาย ให้เกิดสุข"
สุขํ ยาว ชรา สีลํ สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ ปาปานํ อกรณํ สุขํ [๒๕/๓๓๓
"ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน
ก็ไม่มีใครเลยที่จะถูกนินทาอย่างเดียว
หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว"
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต[๒๕/๒๒๘
ภิกษุ เธอจงวิดน้ำออกจากเรือนี้
เมื่อวิดน้ำออกหมดแล้ว เรือจักแล่นเร็ว
ทำลาย(น้ำ คือ)ราคะ โทสะ (โมหะ) เสียแล้ว
เธอจักไปถึงพระนิพพาน
สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ตโต นิพฺพานเมหิสิ ฯ [๒๕/๓๖๙
หากมีการโพสต์เพิ่มจะนำมาเสนอเพิ่มครับ